วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วัดพระธาตุดอยสุเทพ



วัดพระธาตุดอยสุเทพ
ไหว้องค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองเชียงใหม่
เป็นวัดสำคัญของเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางไปเชียงใหม่มักขึ้นไปนมัสการจนมีคำขวัญชาวบ้านในสมัยก่อนว่า
ไปเชียงใหม่ต้อง "ไปกำแพงดิน กินข้าวซอย ขึ้นดอยสุเทพ"
อีกทั้งคนเชียงใหม่เองยังเดินทางไปนมัสการอยู่เป็นประจำด้วย
เชื่อว่าการขึ้นไปนมัสการพระธาตุเสมือนกับการไปแสวงบุญ เนื่องจากสมัยก่อนการเดินทางขึ้นดอยนั้นทำได้ยาก

ที่ตั้ง
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร หมายเลขทางหลวง ๑๐๐๔ ถนนห้วยแก้ว ระยะทางจากเชิงดอยไปถึงพระธาตุดอยสุเทพประมาณ ๑๔ กิโลเมตร

ประวัติ
ตั้งขึ้นในสมัยโบราณตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๖๒ ครั้งพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชอาณาจักรมังราย ทรงนิมนต์พระเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผยแพร่
พระพุทธศาสนาในเชียงใหม่ ท่านได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วยจำนวนสององค์ พญากือนาจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นที่วัดสวนดอก
และวัดพระธาตุดอยสะเทพ ในระยะแรกวัดพระธาตุดอยสุเทพยังไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ต่อมาประมาณปีพ.ศ. ๒๐๘๑ - ๒๑๐๐ พระญาณมงคลโพธิเถระจากลำพูนมาจำพรรษา และสร้างบันไดหินจากฐานขึ้นไปยังองค์พระบรมธาตุ ต่อมาได้ก่ออิฐถือปูนเป็นบันไดนาค
พ.ศ.๒๓๔๘พระเจ้ากาวิละโปรดให้บูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุและสร้างวิหารสองหลังและเริ่มงานประเพณีขึ้นดอยเพื่อไปทำบุญในวันแปดเป็ง (เหนือ) หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)
พ.ศ. ๒๔๗๘ ครูบาศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ได้เชิญชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงงานร่วมใจกันสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่
วัดพระธาตุฯ โดยเริ่มลงมือเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ในเวลาเพียง ๔ เดือน ๒๒ วันเท่านั้น
รวมระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร

ประเพณีขึ้นดอย
เป็นพระเพณีที่สืบทอดกันมาแต่อดีต ในคืนก่อนวันวิสาขบูชาของทุกปี ชาวบ้านจะเดินทางด้วยการเดินเท้าถือประทีปธูปเทียนเป็นริ้วขบวนประกอบด้วย
พระสงฆ์ซึ่งเดินนำหน้าขบวน และยังมีหนุ่มสาวที่เดินขึ้นดอยเป็นหมู่เป็นคณะอีกด้วย เริ่มขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ใกล้กับวัดศรีโสดาในอดีต
จะแวะนมัสการวัดสักกิทาคา และวัดอนาคามีแต่ปัจจุบันวัดทั้งสองได้ร้างไปแล้วขบวนจึงเดินขึ้นไปนมัสการ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพเพื่อจะไปทำบุญตักบาตรและฟังพระแสดงพระธรรมเทศนาในตอน เช้าตรู่วันวิสาขบูชา


บันไดนาค

เป็นบันไดที่มีเศียรนาค ๗ เศียร เป็นปูนปั้นประดับด้วยกระจกสี บันได้นาคมีถึง ๓๐๐ ขั้น แต่เท่าที่นับได้จริง มี ๑๘๕ ขั้น


ประวัติครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในขณะเกิดปรากฎว่าฝนตกหนักฟ้าร้องดังกึกก้องตลอดเวลา
บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อว่า"อินทะเฟือน" ซึ่งแปลว่า "ฟ้าร้อง" เมื่ออายุได้ ๑๘ ปีได้บวชเณรตั้งแต่ยังเล็กได้บุญยิ่งกว่าบวชพระ เพราะเด็กยังมีความบริสุทธิ์อยู่
ต่อมาจึงได้อุปสมบทเป็นพระ"ศรีวิชัย"ได้ศึกษาเล่าเรียนทางวิปัสสนาจนมีความ รู้แตกฉานเป็นที่เคารพของชาวเมืองทั่วไปจนพากันเรียกว่า"ครูบา"
ซึ่งหมายถึงพระภิกษุอาวุโส ตลอดชีวิตของครูบาศรีวิชัยได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากเป็นทีศรัทธาของสานุศิษย์ เพียงออกปาก
ก็ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือเป็นอย่างดี เช่น การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพการบูรณะวัดสวนดอก บูรณะวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นต้นครูบาศรีวิชัย
ถึงมรณภาพลงเมื่อวนัที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อายุ ๖๐ ปีเศษพรรษได้ ๔๐ พรรษา


อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
อยู่ตรงที่บริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความเคารพอย่างมากผู้ที่เดิน ทางขึ้นดอยสุเทพมักจะแวะมานมัสการ
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเดินทางขึ้นดอยอนุสาวรีย์ ครูบาศรีวิชัยได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพแล้ว ทางราชการ
และชาวเมืองเชียงใหม่ได้บริจากทรัพย์ช่วยกันสร้าง โดยให้กรมศิลปกากรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จได้นำมาประดิษฐานไว้ที่เชิงเขาห้วยแก้ว
อันเป็นจุดเริ่มต้นของการขึ้นดอยสุเทพดังที่ปรากฎในปัจจุบั

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น